สนาม: สำนักข่าวซินหัว
บทนำ: แนวทางการดำเนินโครงการผลิตครูมืออาชีพ ปี 2557ที่ได้เสนอต่อ รมว.ศธ.ไปนั้น จะคัดเลือกนิสิตนักศึกษาครูที่ศึกษาชั้นปีที่ 4 ในปีการศึกษา 2555 ซึ่งขณะนี้นิสิต นักศึกษากลุ่มดังกล่าวกำลังศึกษาชั้นปีที่ 5 ในปีการศึกษา 2556โดยเป็นนิสิต นักศึกษาในสาขาวิชาเอกที่เป็นความต้องการของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.)และสำนักกงานคณะกรรมการการศึกษาอาชีวศึกษา(สอศ.) มีผลการเรียนเฉลี่ยสะสม ผลการเรียนวิชาเอกสะสม และผลการเรียนวิชาชีพครูสะสม ตั้งแต่ชั้นปีที่ 1ถึง ปีที่ 3 ไม่ต่ำกว่า 3.00 สำหรับวิธีการคัดเลือกจะใช้วิธีการสอบคัดเลือกรวม โดยมอบให้ที่ประชุมสภาคณบดีคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์แห่งประเทศไทย(ส.ค.ศ.ท.) เป็นผู้ออกข้อสอบในแต่ละสาขาวิชาเอกตามความต้องการของ สพฐ. และ สอศ. นอกจากนี้ต้องพิจารณาด้วย ว่า สพฐ. และ สอศ.จะมีอัตราบรรจุเข้ารับราชการครูในสังกัดหรือไม่ และจำนวนเท่าใด เพราะเรื่องนี้เป็นสิ่งที่นิสิต นักศึกษาต้องการ เลขาธิการ กกอ.กล่าว....
สนาม: คืนนี้
บทนำ: ดร.พลสัณห์ โพธิ์ศรีทอง กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ในคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา(ก.ค.ศ.) ประธานคณะทำงานยกร่างหลักเกณฑ์การประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะ สำหรับตำแหน่งที่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ เปิดเผยว่า ตามที่คณะทำงานฯได้ยกร่างหลักเกณฑ์การประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะสำหรับตำแหน่งที่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเป็นระยะๆ เพื่อดำรงไว้ซึ่งความรู้ ความสามารถ ความชำนาญการ หรือ ความเชี่ยวชาญ ในตำแหน่งและวิทยฐานะที่ได้รับการบรรจุและแต่งตั้ง ตามมาตรา 55 ของ พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547และได้นำไปทดลองใช้ พบว่า การตั้งคณะกรรมการ 3 คน ลงพื้นที่ไปประเมินความรู้ความชำนาญการคงอยู่ในวิทยฐานะของครูและบุคลากรทางการศึกษาแต่ละคนในทุกๆ3ปี หรือ 5 ปี ต้องใช้เงินมหาศาล ขณะเดียวกันครูต้องทำงานซ้ำซ้อน เพราะต้องรับการประเมินจากหน่วยงานต่างๆด้วย แต่หากกำหนดให้มีการเชื่อมโยงใช้ตัวชี้วัดที่หน่วยงานอื่นประเมินด้านความรู้ ความสามารถ ความชำนาญ ความเชี่ยวชาญ ซึ่งครูผ่านเกณฑ์การประเมินแล้วและมีหลักฐานชัดเจน ให้นำมาใช้ในการคงอยู่ในตำแหน่งและวิทยฐานะที่ได้รับการบรรจุและแต่งตั้งได้ ก็จะทำให้ไม่ต้องประเมินครูซ้ำซ้อน และไม่ทำให้ครูทำงานหนักมากขึ้น
ลิงค์ที่เป็นมิตรเวลาปัจจุบัน:2021-03-05